สำหรับคนที่มีสุขภาพตาที่เป็นปกติหรือสายตาปกติ คงจะเคยสงสัยกันมาบ้างว่า คนที่ใส่แว่นตาทั่วไปเขามีปัญหาสายตาอย่างไร สายตาสั้นหรือสายตายาวมันเกิดขึ้นได้อย่างไร และความสามารถของตาที่จะมองเห็นภาพหรือวัตถุต่าง ๆ การมองเห็นภาพจะชัดเจนหรือไม่ เพื่อให้เข้าใจการทำงานตาเราเกี่ยวกับเรื่องสายตา จะขออธิบายเพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างดวงตากันซักนิดก่อน
ดวงตาของเรา ทุกคนหลักๆจะประกอบด้วย
ตาดำ หรือ กระจกตา รูม่านตา เลนส์ตาและเรตินาหรือฉากรับแสง เมื่อแสงมากระทบตาเรา แสงจะถูกหักเหโดยอวัยวะต่าง ๆ เพื่อแสงจะได้รวมเป็นจุดที่จอรับภาพ อวัยวะที่ทำหน้าที่หักเหแสงคือตาดำ หรือกระจกตา กระจกตาและเลนส์ตาของเรานี้ จะต้องรวมแสงทั้งหมด ให้ไปตกโฟกัสที่จอเรตินาอย่างพอดิบพอดี การที่ดวงตาของเราไม่สามารถรวมหรือโฟกัสแสงทั้งหมด ให้ไปตกบนจอเรตินาอย่างพอดีทำให้เกิดภาพเบลอ หรือไม่ชัด เป็นสาเหตุของโรคสายตานั่นเอง
เมื่อเข้าใจส่วนประกอบและการทำงานต่างๆ ของดวงตาแล้ว ต่อไปเราจะเข้าสู้เนื้อหาของสายตาสั้นและสายตายาวกันต่อเลย
สายตาสั้น (Myopia มายโอเปีย) เกิดจากแสงตกก่อนถึงจุดรับภาพ ทำให้ความสามารถในการมองไกล ไม่ชัด เช่น การขับรถ หรือการอ่าน subtitle บนทีวี ซึ่งสายตาสั้นก็มีสาเหตุ หลักๆอยู่ 3 สาเหตุ ด้วยกันคือ
1.กระจกตา (cornea) - กระจกตาที่มีการหักเหของแสงมากเกินไป เมื่อแสงผ่านกระจกตา ก็สามารถทำให้แสงตกก่อนถึงจุดรับภาพได้
2.เลนส์ตา (Lens) - เลนส์ตาที่ความผิดปกติในกรณีนี้ จะมีลักษณะคล้ายกับกระจกตาที่มีการหักเหของแสงมากเกินไป ทำให้เมื่อแสงผ่าน ก็ทำให้แสงตกก่อนถึงจุดรับภาพได้เช่นกัน
3.กระบอกตา - สำหรับคนที่กระบอกตาที่ใหญ่กว่าคนปกติเพียงแค่ 1มิลลิเมตร ก็สามารถทำให้เกิดสายตาสั้นได้ ถึง -3.00D ได้
สรุป เมื่อแสงรวมตกก่อนถึงเรตินา(จุดรับภาพ) จะทำให้ภาพเบลอ หรือเห็นภาพไม่ชัด วิธีแก้ไข การใส่แว่นตา ต้องใช้ เลนส์เว้า ถ่างแสงออก ให้แสงไปตกที่เรตินา เพื่อให้มองเห็นภาพชัดขึ้น เป็นวิธีที่ง่ายและเร็วที่สุด นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆที่ช่วยให้การมองเห็นภาพชัดขึ้นอีก คือการใส่คอนแทคเลนส์ และการผ่าตัด
สายตายาว แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามสาเหตุ ได้แก่ สายตายาวที่เกิดจากปัญหาโครงสร้างลูกตา และสายตายาวที่เกิดจากความเสื่อมตามอายุ อาจมีปัญหาการมองเห็น ระยะใกล้เบลอมองไม่เห็น แต่ระยะไกลกลับชัดเจน
1.สายตายาวที่เกิดจากปัญหาโครงสร้าง (Hyperopia )
สายตายาวที่เป็นตั้งแต่กำเนิด ปัญหาสายตายาวนี้อยู่ในกลุ่มเดียวกับสายตาสั้นและเอียง แม้ผู้มีปัญหาสายตายาวประเภทนี้อาจจะไม่ได้แสดงอาการตั้งแต่เกิด คนสายตายาวเกิดจากการมีกระจกตาที่แบนเกินไป หรือลูกตามีขนาดสั้นไป ทำให้จุดรวมแสงตกหลังเรตินา
2.สายตายาวที่เกิดจากปัญหาความเสื่อมตามอายุ (Presbyopia)
ปัญหาสายตายาวชนิดนี้มักเรียกกันว่า สายตาคนแก่ มักจะมีปัญหาเมื่ออายุเริ่มเข้าเลข 4 หรืออายุ 40 ปีขึ้นไป เหตุผลที่หลายคนเรียอกสายตาชนิดนี้ว่าสายตาคนแก่ เนื่องจาก สายตายาวชนิดนี้จะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ ภาวะสายตายาวนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าโครงสร้างลูกตกจะเป็นปกติหรือผิดปกติก็ตาม
เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อตาและเลนส์แก้วตาจะค่อยๆ สูญเสียความยืดหยุ่นไป สังเกตว่าการเริ่มอ่านหนังสือตัวเล็กๆ ยากขึ้น หรือการอ่านแต่ละครั้งจะต้องยืดแขนออกให้มีระยะที่ไกลออกไป ต้องหาแว่นตาที่มีเลนส์นูน มาบีบแสอง ให้แสงไปตกที่เรตินา เพื่อให้การมองเห็นภาพชัดขึ้น
สรุป เมื่อแสงรวมตกหลังเรตินา(จุดรับภาพ) ก็จะทำให้ภาพเบลอ หรือเห็นภาพไม่ชัดได้เช่นกัน วิธีแก้ไข การใส่แว่นตา ต้องใช้ เลนส์นูนเพิ้อยัยแสงให้แสงไปตกที่เรตินา เพื่อให้มองเห็นภาพชัดขึ้น เป็นวิธีที่ง่ายและเร็วที่สุด นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆที่ช่วยให้การมองเห็นภาพชัดขึ้นอีก คือการใส่คอนแทคเลนส์ และการผ่าตัด